กระทรวงพาณิชย์ เริ่มมาตรการลดราคา น้ำมันปาล์มขวด ลงไป 4-5 บาท เริ่มต้นกับซูเปอร์มาร์เก็ต/ค้าปลีกรายใหญ่ พร้อมสั่งกรมการค้าภายในติดตามใกล้ชิด วันที่ 14 กรกฎาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามการปรับระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือการค้ากำไรเกินควร ในช่วงที่คนไทยเช่นเดียวกับคนทั่วโลกที่กำลังเผชิญปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
โดยมีการติดตามต้นทุนการผลิต ปริมาณสต๊อกสินค้า
เพื่อให้การกำหนดราคาเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ส่งผลให้สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันหลายชนิดชะลอการปรับเพิ่มราคา และล่าสุด นายจุรินทร์ ได้สั่งการให้เร่งรัดการปรับลดราคา “น้ำมันปาล์มขวด” ตามต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง โดยร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า จะเริ่มปรับลดราคาน้ำมันปาล์มขวดลง 4-5 บาท จากราคาขายปัจจุบันที่ขวดละ 69-70 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้มีราคาสะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง
นางสาวรัชดา กล่าวว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานผลการประชุมร่วมกับห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เกต ซึ่งทุกฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือ แต่การลดราคาอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับต้นทุนและสต๊อกเก่าที่มีค้างอยู่ของแต่ละผู้ประกอบการ แต่ยืนยันได้ว่าน้ำมันปาล์มขวดจะต้องขายตามต้นทุนที่แท้จริง
หากผลปาล์มดิบลดราคา น้ำมันปาล์มขวดก็ต้องปรับลดด้วยเป็นไปตามโครงสร้างการคำนวณราคาประมาณการของผลปาล์มน้ำมัน น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันปาล์มขวด ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้เป็นราคาแนะนำให้ปฏิบัติ ซึ่งสัปดาห์นี้ผูประกอบการรายใหญ่จะเริ่มต้นลดราคา 4-5 บาทก่อน และสัปดาห์หน้าจะทยอยลดอีก ซึ่งการคำนวณราคาจะต้องดูต้นทุนสต๊อกช่วงก่อนหน้าที่สั่งสินค้าเข้ามาประกอบด้วย โดยกรมการค้าภายในจะติดตามการปรับลดราคาอย่างใกล้ชิดให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค ตามข้อสั่งการรองนายกฯ จุรินทร์
นางสาวรัชดา กล่าวว่า “สำหรับสินค้าทั่วไป สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ยังได้ติดตามกำกับดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคให้มีการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยให้ร้านค้าต้องปิดป้ายแสดงราคาจำหน่ายสินค้าให้ชัดเจน ห้ามฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาหรือจำหน่ายสินค้าราคาสูงเกินสมควร ตัวเลข ณ วันที่ 12 ก.ค. มีการสำรวจรวม 299 แห่ง จากห้างสรรพสินค้า 105 แห่ง ร้านค้าปลีก – ส่ง 129 แห่ง และตลาดสด 65 แห่ง โดยยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.65 รวมทั้งสิ้น 4,635 แห่ง จากห้างสรรพสินค้า 1,613 แห่ง ร้านค้าปลีก – ส่ง 2,139 แห่ง และตลาดสด 883 แห่ง พบว่าขณะนี้สินค้ามีเพียงพอกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ หากประชาชนพบการทำผิดกฎหมาย รวมทั้งการกระทำผิดในร้านค้าออนไลน์ สามารถโทรแจ้งข้อมูลได้ที่ สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569
ครม. ไฟเขียว มาตรการช่วยเหลือ เกษตรกรปศุสัตว์ วงเงิน 1 พันล้านบาท
ครม. ได้เปิดทางให้กับ มาตรการช่วยเหลือ เกษตรกรปศุสัตว์ ภายใน 3 กรณีด้วยกัน โดยเป็นโครงการภายใต้งบประมาณกลาง วงเงิน 1 พันล้านบาท มาตรการช่วยเหลือ เกษตรกรปศุสัตว์ – วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติงบกลางกรณีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า วงเงิน 753.05 ล้านบาท สำหรับค่าชดใช้ราคาสุกร และค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย และจัดซื้อวัคซีนโรคลัมปีสกิน จำนวน 6.3 ล้านโดส และค่าจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการแพทย์ในการฉีดวัคซีน จำนวน 231.95 ล้านบาท และเยียวยาเกษตรกรกรณีโค-กระบือป่วยตายด้วยโรคลัมปีสกิน ตั้งแต่ มี.ค. 64 – 30 เม.ย. 65 จำนวน 203.10 ล้านบาท
โดยรายละเอียดก็มีด้วยกันดังต่อไปนี้
1. กรณีโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับค่าชดใช้ราคาสุกรและค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย วงเงิน 753.05 ล้านบาท ประกอบด้วย
– ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายที่ยังคงค้างชำระ ที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ 16 ต.ค. 64 – 31 มี.ค. 65 ในพื้นที่ 45 จังหวัด เพิ่มเติมที่ตกค้าง 165 ราย รวมเกษตรกร 2,655 ราย เป็นเงิน 231.34 ล้านบาท
– จำนวนสุกรที่ตกค้าง 5,009 ตัว รวม 65,076 ตัว คิดเป็นเงิน 18.61 ล้านบาท
– ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายตามแผนลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า ในปี งบประมาณ 65 ร้อยละ 3 ของฟาร์ม ของจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย-รายเล็ก ซึ่งมีประมาณ 100,000 ราย คิดเป็น จำนวนเกษตรกร 3,000 ราย จำนวน สุกร 60,000 ตัว จำนวนเงิน 402.30 ล้านบาท
– ค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย (อาหารสัตว์) จำนวงเงิน 100.80 ล้านบาท
2. กรณีโรคลัมปี สกิน ในโคและกระบือ วงเงินรวม 435.05 จำนวน 2 รายการ ประกอบด้วย
– จัดซื้อวัคซีนโรคลัมปี สกิน จำนวน 6.3 ล้านโดส และค่าวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการแพทย์ในการฉีดวัคซีน จำนวนเงิน 231.95 ล้านบาท
– ค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรกรณีโค-กระบือ ป่วยตายด้วยโรคลัมปีสกิน ตั้งแต่เดือน มี.ค.64 – 30 เม.ย.65 สำหรับเกษตรกรจำนวน 9,789 ราย จำนวนโค กระบือรวม 11,422 ตัว จำนวนเงิน 203.10 ล้านบาท
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง