เช็กพื้นที่ กทม. ฝนตกเย็นนี้ไหม 15 ก.ย. 65 พบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

เช็กพื้นที่ กทม. ฝนตกเย็นนี้ไหม 15 ก.ย. 65 พบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ส่องสภาพอากาศกรุงเทพเย็นนี้ วันที่ 15 กันยายน 2565 มีฝนตกไหมหลังพบมีมรสุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ คนทำงานเตรียมเช็กเย็นนี้ให้พร้อมรับมือสถานการณ์ฝนตก หลังจากที่ชาวกรุงเทพต้องเจอฝนตกพกร่มเท้าเปียกมาหลายวันตลอดทั้งสัปดาห์จนล่าสุดวันที่ 15 กันยายน 2565 เช็กสภาพอากาศฝนตกกรุงเทพวันนี้ไม่พบกลุ่มเมฆฝนบนเรดาร์ แต่มีมรสุมทิศตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านภาคเหนือไม่กระทบกรุงเทพ แม้ว่าจะมีฝนตกบางแห่งในกรุงเทพเมื่อเวลา 14.00 น. ที่ผ่านมา บริเวณเขตบางบอน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตยานนาวา เขตมีนบุรี และหนองจอก โดยเมฆฝนมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงและเคลื่อนตัวไปยังทิศตะวันออก และไม่พบพื้นที่น้ำท่วมในเขตกรุงเทพขณะนี้ ยกเว้นเขตลาดกระบังที่กำลังรอระบายน้ำภายใน 7 วัน

สรุปอัปเดตเรดาร์ฝนจากศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร 

เย็นนี้กรุงเทพไม่มีฝนตกหนักครับ ทั้งนี้มีประกาศข้อมูลสภาพอากาศฝนตก กทม. ระหว่างวันนี้ 15-24 กันยายน 2565 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางสลับกันเป็นบางแห่ง บริเวณภูมิภาคอีสาน ภาคกลาง และพื้นที่กรุงเทพกับปริมณฑลรอบนอก

ส่วนสาเหตุของสภาพอากาศฝนตกที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมจะมีกำลังแรงขึ้น ส่วนร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และยังสวิงขึ้น-ลง เป็นบางช่วง

อย่างไรก็ตามมีประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาพื้นที่เสี่ยงฝนตกเย็นนี้จนถึงเวลา 21.00 น. ได้แก่ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตบึงกุ่ม เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว และเขตคันนายาว

สำหรับความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะได้รับพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ทั้ง 3 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อนรุนแรง “MUIFA” (ลูกที่ 12) มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศเหนือ ห่างจากประเทศไทยมาก

ถัดมาพายุลูกที่สองคือ พายุไต่ฝุ่น “เมอร์บก (MERBOK)” (ลูกที่ 13) และสุดท้ายกับพายุลูกที่สามเป็น พายุโซนร้อนรุนแรง “นันมาดอล (NANMADOL)” (ลูกที่ 14) ไม่มีทิศทางเคลื่อนทางเคลื่อนตัวเขาสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อฝนตกกรุงเทพครับ

ทั้งนี้หลังจากที่เช็กพื้นที่ กทม. ฝนตก 15 กันยายน 2565 แม้ว่าจะไม่ปรากฎกลุ่มเมฆฝน แต่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงผันผวนอยู่ตลอดเวลา ยังไงช่วงนี้แนะนำให้พกร่มติดตัวไว้ข้างกายอุ่นใจกว่าครับ.

ประวัติ ‘วิทยา บุรณศิริ’ อาลัยอดีต รมว.สาธารณสุข พรรคเพื่อไทยเสียชีวิต

ร่วมอาลัย วิทยา บุรณศิริ ย้อยประวัติและผลงาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ่วงตำแหน่งอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ช็อกเสียชีวิตแล้ว วันที่ 15 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิทยา บุรณศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกิดช็อคหมดสติในบ้านพัก อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และล่าสุดได้รับการยืนยันว่านายวิทยา เสียชีวิตแล้วในวันนี้ด้วยอายุ 63 ปี เพื่อเป็นการไว้อาลัย วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนมาย้อน ประวัติ และรำลึกผลงานต่าง ๆ ของ วิทยา บุรณศิริ หนึ่งในผู้นำพรรคเพื่อไทย

นายวิทยา บุรณศิริ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2503 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 สิริอายุ 62 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

วิทยา บุรณศิริ เกิดที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา) และจบปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ก่อนที่พรรคจะถูกยุบในปี พ.ศ. 2550 และย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ดำรงตำแหน่งเป็นประธานวิปรัฐบาลในสมัยสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาพรรคถูกยุบ วิทยาจึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย

ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาลเดิม และกลุ่มเพื่อนเนวิน ชิดชอบ ซึ่งเดิมสังกัดพรรคพลังประชาชน ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน ทำให้ วิทยา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานวิปฝ่ายค้าน

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 วิทยาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จนได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า